|
 |
|
ประชุมผู้รับผิดชอบนมโรงเรียน
14 ธันวาคม 2560
"สพป.พัทลุง เขต 2 พัฒนาเครือข่ายการจัดการระบบ Cold Chain นมโรงเรียน" วันที่ 14 ธันวาคม 2560 นายสุวรรณ ขวัญแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีเปิดอบรมครูผู้รับผิดชอบนมโรงเรียน ณ ห้องประชุมสหกรณ์โคนมจังหวัดพัทลุง ว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ได้จัดทำโครงการ "พัฒนาเครือข่ายการจัดการระบบ Cold Chain " ของนมโรงเรียน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และความตระหนักในการดูแลระบบ Cold Chain โดยนายสุวรรณ กล่าวว่า นมโรงเรียนเกิดจากนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น และช่วยเหลือให้เด็กไทยได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนการ มีพลานามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อหารเสริม (นม) โรงเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ซึ่งนับว่าเป็นนโยบายทีมีผลในการปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน แต่เหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า นมโรงเรียนส่วนใหญ่มักประสบปัญหา "การเสื่อมเสียเน่าบูด ทั้งในพาสเจอร์ไรส์และยูเอชที" แม้ว่าจังหวัดพัทลุงยังไม่พบอุบัติการณ์ดังกล่าว แต่จากข้อมูลที่ลงสุ่มสำรวจพื้นที่ในสถานศึกษาจังหวัดพัทลุงก็พบว่ามีสถานศึกษาหลายแห่งที่พบหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อคุณภาพนมโรงเรียน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเกิดจากหลายสาเหตุในขั้นตอนต่างๆ ของห่วงโซ่นมโรงเรียน ตั้งแต่คุณภาพของน้ำนมดิบที่ออกจากฟาร์มมาถึงกระบวนการคัดกรองน้ำนมดิบ กระบวนการแปรรูปนมพร้อมดื่ม การขนส่งนมจากโรงงานไปโรงเรียน การเก็บรักษานมที่โรงเรียน และการบริหารจัดการดิ่มนมของโรงเรียน จังหวัดพัทลุงโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงได้ควบคุมกำกับดูแลสถานที่ผลิตนมพร้อมดื่มที่เข้าสู่โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ให้มีมาตรฐานการผลิตที่ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ GMP แต่การรักษาความเย็นของนมโรงเรียนตั้งแต่การขนส่งออกจากโรงงานจนถึงนำนมให้เด็กดื่ม หรือที่เรียกว่า Cold Chain เป็นระบบที่ต้องควบคุมเพื่อรักษาอุณหภูมิในถึงนมไม่ควรเกิน 8 ํ c นมโรงเรียนจึงมีคุณภาพที่ดีเหมาะสมและปลอดภัยต่อการบริโภคของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการดูแลนมโรงเรียนให้ได้คุณภาพ รวมถึงสะท้อนปัญหาอันเนื่องมาจากผู้ขนส่งนมโรงเรียนไม่ได้จัดส่งนมตามเงื่อนไขและมาตรฐานที่กำหนด หรือพบว่านมโรงเรียนที่ได้รับมีปัญหาบูดหรือเน่าเสีย ฉะนั้น จึงต้องให้ความรู้แก่ครูเพื่อลดปัญหานมบูดหรือเน่าเสีย นายสุวรรณ กล่าว พจนาถ ช่วยเนื่อง ภาพ/ข่าว |
 |
|
 |
|
ภาพกิจกรรม ประชุมผู้รับผิดชอบนมโรงเรียน
|
|
|