ผู้บริหาร

ผอ.สพป.พัทลุง เขต 2
นางกอบขวัญ แดงบำรุง
ผอ.สพป.พัทลุง เขต ๒

ชื่อและนามสกุล
นายธวัช รัตนพันธ์
รอง ผอ.สพป.

ชื่อและนามสกุล
นางอำภา เวชสารศรี
รอง ผอ.สพป.

ชื่อและนามสกุล
นางอุบล หนูมาก
รอง ผอ.สพป.

สอบ ONET เหลืออีก


สอบ ONET

   ป.6 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566
   ม.3 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566

สอบ RT

   วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

สอบ NT

   วันที่ 15 มีนาคม 2566

โรงเรียนในสังกัด
ทำเนียบบุคลากร

เมนู

· หน้าแรก
· ข้อมูลทั่วไป
· วิสัยทัศน์
· พันธกิจ/เป้าประสงค์

ITA Online
>> ข้อมูลพื้นฐาน
· 1.โครงสร้างหน่วยงาน
· 2.ข้อมูลผู้บริหาร
· 3.อำนาจหน้าที่
· 4.แผนยุทธศาสตร์/แผนพัฒนา
· 5.ข้อมูลติดต่อหน่วยงาน
· 6.กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
· 7.ข่าวประชาสัมพันธ์
· 8.กระดานถามตอบ
· 9.เฟสบุ๊กแฟนเพจ

>> การบริหารงาน
· 10.แผนปฏิบัติการประจำปี
· 11.การกำกับติดตามการดำเนินงาน
· 12.รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
· 13.คู่มือการปฏิบัติงาน
· 14.คู่มือการให้บริการ
· 15.ข้อมูลสถิติ
· 16.รายงานผลสำรวจความพึงพอใจ
· 17.ระบบ E-Service

>> การบริหารงบประมาณ
· 18.แผนใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
· 19.การกำกับติดตามงบประมาณ
· 20.รายงานการใช้งบประมาณ
· 21.แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
· 22.ประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
· 23.สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
· 24.รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง

>> การบริหารทรัพยากรบุคคล
· 25.นโยบายบริหารงานบุคคล
· 26.การดำเนินนโยบายบุคคล
· 27.หลักเกณฑ์งานบุคคล
· 28.รายงานผลการพัฒนาบุคคล

>> ส่งเสริมความโปร่งใส
· 29.การจัดการเรื่องร้องเรียน
· 30.ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียน
· 31.ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียน
· 32.รับฟังความคิดเห็น/ติดต่อเรา
· 33.การมีส่วนร่วม

>> ป้องกันการทุจริต
· 34.เจตจำนงสุจริต
· 35.การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
· 36.การประเมินความเสี่ยง
· 37.การจัดการความเสี่ยง
· 38.เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
· 39.แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
· 40.กำกับติดตาม
· 41.รายงานผลการดำเนินงาน

>> มาตรการภายใน
· 42.มาตรการส่งเสริมคุณธรรมความโปร่งใส
· 43.การดำเนินการตามมาตรการ

· บทความ
· เว็บลิงค์
· อัลบั้มภาพเฟสบุ๊ก
· หมวดหมู่ข่าว
· แกลอรี่ภาพ
· ค้นหา
· ดาวน์โหลด
· PictureFlow Gallery

Facebook Fanpage

ลิ้งค์หน่วยงาน

edu

plg1

sahakon

1moe

1obec

2omoe

3ops

เข้าสู่ระบบ

User name

รหัสผ่าน



ลืมรหัสผ่าน?
ขอรหัสผ่านใหม่.









1

แผนปฏิบัติการ ประจำปี

แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี

Action Learning

English

คู่มือประชาชน

คู่มือป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

คู่มือการรับเรื่องร้องเรียน

ประกาศประมวลผลจริยธรรม

คู่มือการติดต่อราชการ

รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง

แผนปฎิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

แผนปฎิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมภิบาล

PR_NEWS

โค้งสุดท้่าย ของการสอบ ONET, NT

นิเทศติดตาม

โค้งสุดท้ายของการสอบ O-NET  และ NT

ผู้บริหารเพื่อนครู และผู้เกี่ยวข้องที่เคารพทุกท่าน  ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง  เขต 2 ได้ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของผู้บริหารและเพื่อนครูในสังกัดมาตลอด  ได้รับทราบถึงความตั้งใจและความพยายามในการพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบทั้งในระดับเครือข่ายและระดับโรงเรียน   โดยมีเป้าหมายที่จะเดินไปให้ถึง  คือ  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ผลสัมฤทธิ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ  50  ค่าเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ในลำดับที่  9  ของประเทศ  ทุกคนมีภาพในใจร่วมกันที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

จากความพยายามของทุกคนได้เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายของการสอบ O-NET   ชั้น ป.6 และ  ม.3  ระหว่างวันที่  27 – 28  กพ.59  และการสอบ NT  ป.3  ในวันที่  9  มีค. 59  ถือว่าเป็นการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  ถึงแม้ว่ามันเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งของการประเมินคุณภาพผู้เรียน  แต่ผู้บริหาร เพื่อนครู ผู้ปกครองเองก็ยังหวั่นไหวต่อผลที่เกิดขึ้น ซึ่งประกาศให้สาธารณะชนทราบ  อย่างไรก็ดีในฐานะ

ที่เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน  คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2  ก็พลอยตื่นเต้นและเป็นกำลังใจให้กับทุกคนประสบความสำเร็จดั่งที่หวังไว้    ในขณะเดียวกันก็อดเป็นห่วงเป็นใยไม่ได้รับทราบ เรียนรู้ สิ่งดีๆ ทั้งหลายจากผู้บริหาร   และเพื่อนครูที่ปฏิบัติจริงแล้วประสบผลสำเร็จอยากจะนำมาเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีกว้างขึ้น  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและเพื่อนครูได้นำไปประยุกต์ใช้กับโรงเรียนและนักเรียนของตนเอง    ท่านลองเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเทคนิคและวิธีการเหล่านี้ดู

1. การสอบเพื่อสอนโดยใช้สื่อ (ข้อสอบ) รายมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามโครงสร้างของข้อสอบ  ครูที่ประสบผลสำเร็จเล่าให้ฟังว่าวิธีการสอบเพื่อสอน  โดยการรวบรวมข้อสอบ O-NET ย้อนหลังแต่ละปีมาใช้เป็นสื่อในการสอนนักเรียน   ผู้สอนต้องรวบรวมข้อสอบจัดเป็นหมวดหมู่   โดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดตามโครงสร้างของข้อสอบแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นหลัก   และดำเนินการสอนไปตามโครงสร้าง   เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มฐ. ว 1.1  มีข้อทดสอบตามโครงสร้างปีการศึกษา  2557  ปีการศึกษา  2556  ปีการศึกษา  2555  เป็นต้น  จำนวนกี่ข้อ  นำมาวิเคราะห์

- ข้อทดสอบออกเรื่องใดบ้าง   - ตัวชี้วัดใดบ้างที่ออกบ่อยๆ     ในมาตรฐานการเรียนรู้นี้มีจุดเน้น หรือคำหลักอะไรบ้าง  การสอบเพื่อสอนโดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้ตามโครงสร้างของข้อสอบเป็นฐาน  จะทำให้ผู้เรียนมีภาพในใจของตนเองเกิดขึ้น และเข้าใจภาพรวม  จากกลุ่มสาระเรียนรู้สู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด   สิ่งที่ต้องเรียนรู้เมื่อเข้าสนามสอบจริงๆ   ข้อทดสอบก็สามารถเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดได้  โอกาสผิดพลาดจะน้อยมาก   ครูเขาเล่าให้ฟังดังที่กล่าว   ใครเชื่อมั่นเทคนิคและวิธีการนี้สามารถนำไปใช้ดู

2. ทำอย่างไรให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสอบ จากข้อมูลที่สะท้อนกลับจากเพื่อนผู้บริหาร และครูพบว่า นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของการสอบ จะส่งผลให้นักเรียนทำข้อสอบได้น้อย สอบเพื่อทำให้เสร็จ ไม่ใช่สอบเพื่อวัดประเมินผลของการเรียนรู้ เป็นปัญหาที่หลายคนหนักใจมาก หลายโรงเรียนจัดกิจกรรมมากมายเพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสอบ เช่น การให้รางวัลในรูปแบบต่างๆ การประชุมผู้ปกครอง การแนะแนวเป็นรายบุคคล จึงขอยกตัวอย่างของผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติแล้วประสบผลสำเร็จมาเล่าเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างดังนี้

2.1 การตั้งเป้าหมายแบบมีส่วนร่วม  โดยการประชุมครู  นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา และกำหนดความต้องการร่วมกัน และกำหนดเป้าหมายแบบ       ท้าทาย  โดยที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดการดำเนินการ  การประเมินผล และปรับปรุงพัฒนา  มีเป้าหมายที่ชัดเจนไว้พุ่งชน

2.2  การสร้างทัศนคติเชิงบวก  กับการสอบ ทำอย่างไรให้การสอบเป็นเรื่องสนุก  ไม่เครียด  นักเรียนอยากมาห้องสอบ  มาสอบแล้วมีความสุข  มีตัวอย่างนำมาเล่ากันฟัง  เช่น  คัดเลือกครูคุมสอบที่มีคุณลักษณะกัลยาณมิตร  การจัดกิจกรรม BBL  ผ่อนคลายช่วงพักระหว่างสอบ มีขนมหรืออาหารว่างบริการระหว่างพัก  ใช้คำพูดสร้างพลัง  กำลังใจในการตั้งใจทำข้อสอบ

3.  การให้รางวัล  เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้บริหารและครูผู้สอนเล่าให้ฟังกันมากว่าเป็นวิธีหนึ่งที่เสริมแรงนักเรียน  และสร้างความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้รางวัลที่หวังไว้  จากการติดตามพบว่ารางวัลส่วนใหญ่เป็นในลักษณะภาพรวมที่ส่งผลต่อนักเรียนทั้งห้อง เช่น  หากนักเรียนทำค่าเฉลี่ย O-NET  ทั้งห้องทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ  50  จะนำนักเรียนไปทัศนศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ ตามนักเรียนต้องการ  จะพานักเรียนไปทัศนศึกษาดูงานในกรุงเทพมหานคร  หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง  บางโรงเรียนยังเอื้อเฟื้อเผยแพร่ไปถึงผู้ปกครอง  ทำให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย  ซึ่งรูปแบบการให้รางวัลมีหลากหลาย นั้นอยู่กับค่านิยมและความต้องการของนักเรียนแต่ละโรงเรียน

4. เทคนิคการทำข้อสอบ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คุณครูเล่าให้ฟังว่าเทคนิคการทำข้อสอบนั้น มีเทคนิคที่น่าสนใจ ดังนี้

4.1 อ่านคำถามก่อนอ่านข้อความ ประเภทข้อสอบที่มีบทความหรือข้อความมาให้นักเรียนอ่านก่อน แล้วมีข้อสอบให้ทำทีหลังจากการอ่าน คุณครูเล่าให้ฟังว่า ควรให้นักเรียนอ่านคำถามก่อนบทความหรือข้อความก่อน แล้วจับประเด็นคำถามไว้ แล้วค่อยอ่านบทความหรือข้อความทีหลังเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง เด็กจะประหยัดเวลาในการอ่านและทำข้อสอบได้ เสร็จเร็วกว่า

4.2 การตัดคำตอบผิดออกก่อน ในการทำข้อสอบแบบปรนัยมีตัวเลือกให้เลือก คำตอบใดที่นักเรียนเชื่อมั่นว่าผิดแน่ให้ตัดออกไปก่อน มาพิจารณาเฉพาะคำตอบที่เหลือเท่านั้น ทำให้การเลือกคำตอบแคบลง มีตัวเลือกที่น้อยจะตัดสินใจตอบได้ดีกว่า

4.3 ทำข้อสอบง่ายก่อน ข้อสอบข้อใดพิจารณาว่าง่ายและทำได้ให้ลงมือทำก่อน ข้อสอบใดต้องใช้เวลามากในการคิดคำนวณหาคำตอบค่อยกลับมาทำภายหลัง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำข้อสอบไม่ทันเวลาที่กำหนด หรือการใช้เวลานานไปกับข้อสอบข้อใดข้อหนึ่ง

4.4 การใช้ข้อสอบเป็นกระดาษทด การทำข้อสอบนักเรียนจำเป็นต้องอาศัยกระดาษในการคิดคำนวณเพื่อหาคำตอบที่ถูก นักเรียนสามารถใช้ข้อทดสอบเป็นกระดาษทดในการคิดคำนวณได้ไม่ผิดระเบียบ มีครูบางท่านยังเข้าใจผิดห้ามนักเรียนเขียนอะไรลงในข้อทดสอบ

5. การวางแผนการเรียนการสอน ในเวลาปกติคุณครูทั่วมักจะวางแผนการสอนไปตามโครงสร้างเวลาเรียน หลักสูตรสถานศึกษา คุณครูเล่าว่าหากสอนตามหลักสูตรจบก่อนกำหนดจะทำให้คุณครูมีเวลาในการทบทวนปลายปีมากขึ้น และเป็นผลดีต่อนักเรียน

6. การจัดห้องสอบและการเตรียมการก่อนสอบ  ในการสอบแต่ละครั้ง ห้องสอบก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสอบ  โดยเฉพาะแสงสว่างต้องพอเพียงเหมาะกับการอ่านหนังสือ  ห้องใดหากแสงสว่างไม่เพียงพอโรงเรียนที่เป็นสนามสอบจะต้องแก้ไขโดยด่วน  ในการสอบแต่ละครั้งนักเรียนจะใช้ดินสอ 2ในการระบายเงาทึบข้อคำตอบถูก  หากระบายไม่ชัด หรือระบายคำตอบมากกว่าหนึ่งข้อเครื่องตรวจจะไม่อ่านทำให้เสียโอกาสได้   นอกจากนั้นการใส่รหัส   เลขรหัสโรงเรียน   และรหัสประจำตัวนักเรียนและอื่นๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน   ผู้ควบคุมห้องสอบต้องตรวจสอบความถูกต้องเป็นรายบุคคลก่อนจะส่งกระดาษคำตอบ  และข้อทดสอบก่อนเสมอ

นับจากวันนี้ไปเหลือระยะเวลาน้อยมากในการเตรียมนักเรียน ถือว่าโค้งสุดท้ายของการพัฒนา ผู้บริหาร ครูผู้สอนก็จะนำกลยุทธ์เทคนิควิธีการต่าง ๆ อย่างหลากหลายมาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน ไม่มีวิธีใดดีที่สุดตลอดไป ขอให้ท่านคิดว่าเราทำดีที่สุดแล้ว ทำด้วยใจ ผลจะออกมาเช่นไร รับได้เสมอ การพัฒนาไม่มีสิ้นสุดในวงการศึกษา แม้ว่าจะเปลี่ยนรัฐมนตรี จะเปลี่ยนผู้บังคับบัญชา จะเปลี่ยนหลักสูตร สักกี่ครั้งก็ตามแต่หน้าที่ผู้บริหารและครูผู้สอนนั้นไม่เปลี่ยน จะต้องพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน

ด้วยความปรารถนาดี
นายนุกูล    คชฤทธิ์
ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

แสดงผลในเวลา: 0.04 วินาที
1,744,045 ผู้เยี่ยมชม